วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมที่ 1.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร

กิจกรรมที่ 1.1 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสสาร

จุดประสงค์       1. ทดลองและระบุปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง

                         อุณหภูมิของน้ำและสารอื่นๆ    

อุปกรณ์       1. น้ำ                

                  2. บีกเกอร์ ขนาด 100 cm3 

                  3. บีกเกอร์ ขนาด 250 cm3 

                  4. เทอร์มอมิเตอร์ 

                  5. แท่งแก้วคน                     

           6. กระบอกตวง                     

           7. ขาตั้งพร้อมที่จับ  

                  8. ชุดตะเกียงแอลกอฮอล

           9. เทียนไข

                  10. เครื่องชั่ง    

                  11. น้ำมันพืช                  

                  12. กลีเซอรอล

                  13. กระดาษกราฟ

                  14. นาฬิกาจับเวลา 

วิธีทดลอง ตอนที่ 1

 1. ใส่น้ำ 60 ลูกบาศก์เซนติเมตร ลงในบีกเกอร์  2 ใบ 
     แล้วจัดอุปกรณ์ดังภาพ

                                การจัดอุปกรณ์ในกิจกรรม ตอนที่ 1     
                                      ที่มา สสวท. (2561, 14)

2. จากภาพ ระบุปัญหาและตั้งสมมติฐานของการทดลองนี้เมื่อจุดเทียนไข บันทึกผล

3. ระบุตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม บันทึกผล

4. วัดอุณหภูมิเบื้องต้นของน้ำแต่ละใบ บันทึกผล จากนั้นทำการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานโดยให้ความร้อนแก่น้ำในบีกเกอร์ทั้งสองพร้อมกัน โดยขณะให้ความร้อนแก่น้ำ ใช้แท่งแก้วคนน้ำให้ทั่งบีกเกอร์ตลอดเวลา บันทึกอุณหภูมิของน้ำในบีกเกอร์ทั้งสอง ทุกๆ 30 วินาที เป็นเวลา 3 นาที

5. นำข้อมูลที่ได้ไปเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและเวลา  

ข้อควรระวัง

·      แอลกอฮอล์เป็นสารไวไฟ จึงควรระมัดระวังการใช้ตะเกียงแอลกอฮอล์


วิธีทดลอง ตอนที่ 2

  1. ใส่น้ำ 75 ลูกบาศก์เซนติเมตร และ 

      150 ลูกบาศก์เซนติเมตร  ลงในบีกเกอร์แต่ละใบ

      แล้วจัดอุปกรณ์ดังภาพ


                                             การจัดอุปกรณ์ในกิจกรรม ตอนที่ 2     
                                                      ที่มา สสวท. (2561, 16)

2. จากภาพ ระบุปัญหาและตั้งสมมติฐานของการทดลองนี้เมื่อให้ความร้อน 
   บันทึกผล
3. ระบุตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม บันทึกผล
4. วัดอุณหภูมิเบื้องต้นของน้ำแต่ละใบ บันทึกผล 
5. ทำการทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานโดยให้ความร้อนแก่บีกเกอร์ที่มีน้ำ 75 ลูกบาศก์เซนติเมตร โดยขณะให้ความร้อนแก่น้ำ ใช้แท่งแก้วคนน้ำให้ทั่งบีกเกอร์ตลอดเวลา บันทึกอุณหภูมิ ทุกๆ 1 นาที เป็นเวลา 5 นาที
6. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 5 โดยให้ความร้อนแก่บีกเกอร์ที่มีน้ำ 150 ลูกบาศก์เซนติเมตร ด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์ชุดเดิม
7. นำข้อมูลที่ได้ไปเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและเวลา  




วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561

การถ่ายโอนความร้อน

การถ่ายโอนความร้อน (Heat Transfer)

                                 
(https://www.google.com/search?q=heat+transfer&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwj6x4WIjrDfAhVJpo8KHWIrDQ4Q_AUIDigB&biw=1094&bih=506#imgrc=P57mWGSXRHv4KM:)

       การถ่ายโอนความร้อนมี 3 วิธี คือ การนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน

       การนำความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนที่อาศัยตัวกลาง โดยที่อนุภาคของตัวกลางไม่เคลื่อนที่ แต่สั่นต่อเนื่องกันไป 

       การพาความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนซึ่งอาศัยตัวกลางที่เป็นของเหลวหรือแก๊ส โดยที่อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ไปพร้อมกับพาความร้อนไปด้วย 

       การแผ่รังสีความร้อนเป็นการถ่ายโอนความร้อนที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลาง แต่ความร้อนส่งผ่านโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

        ความร้อนถ่ายโอนจากสสารที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังสสารที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจนกระทั่งอุณหภูมิของสสารทั้งสองเท่ากัน สภาพที่สสารทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากัน เรียกว่า สมดุลความร้อน 

        เมื่อมีการถ่ายโอนความร้อนระหว่างสสารซึ่งมีอุณหภูมิต่างกันจนเกิดสมดุลความร้อน ปริมาณความร้อนที่สสารหนึ่งได้รับจะเท่ากับปริมาณความร้อนที่อีกสสารหนึ่งสูญเสีย

    การนำความร้อน (heat conduction)

          การนำความร้อน เป็นการถ่ายโอนความร้อนโดยการสั่นของอนุภาคอย่างต่อเนื่อง และถ่ายโอนความร้อนจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า การนำความร้อนเกิดขึ้นได้กับสสารทุกสถานะ สสารในแต่ละสถานะนำความร้อนได้ดีไม่เท่ากัน สสารในสถานะของแข็งนำความร้อนได้ดีกว่าของเหลว และแก๊ส ตามลำดับ          เมื่อให้ความร้อนแก่แผ่นอะลูมิเนียมซึ่งเป็นโลหะ แผ่นอะลูมิเนียมในบริเวณที่ได้รับความร้อนจะมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณอื่น ความร้อนจึงถ่ายโอนไปยังบริเวณที่อยู่ข้างเคียงซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า จนทำให้อุณหภูมิบริเวณข้างเคียงมีอุณหภูมิสูงขึ้น ความร้อนถ่ายโอนอย่างต่อเนื่องจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าในบริเวณที่อยู่ห่างออกไป


          การนำความร้อนจะมีค่ามากหรือน้อย นอกจากปัจจัยการจัดเรียงอนุภาคของสสารแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นเกี่ยวข้องอีก สสารโดยทั่วไปมีสมบัติในการนำความร้อนได้ไม่เท่ากัน โลหะสามารถนำความร้อนได้ดี แต่สสารบางชนิดนำความร้อนได้ไม่ดี เช่น พลาสติก น้ำ อากาศ เป็นต้น          สสารที่นำความร้อนได้ดี เรียกว่า ตัวนำความร้อน สสารที่นำความร้อนได้ไม่ดี เรียกว่า ฉนวนความร้อน        

การพาความร้อน (heat vection)



          การพาความร้อน คือ การถ่ายโอนความร้อนของของเหลวหรือแก๊ส โดยอนุภาคของของเหลวหรือแก๊สเป็นตัวกลางพาความร้อนไปพร้อมกับการเคลื่อนที่ของอนุภาค
          การถ่ายโอนความร้อนของของเหลวซึ่งเมื่ออนุภาคของของเหลวที่จัดเรียงตัวกันอย่างหลวม ๆ ได้รับความร้อน อนุภาคจะมีพลังงานสูงขึ้น เคลื่อนที่เร็วขึ้น และอนุภาคอยู่ห่างกันมากขึ้น ทำให้ของเหลวมีปริมาตรมากขึ้น ความหนาแน่นของของเหลวบริเวณด้านล่างนั้นจะลดลง อนุภาคของของเหลวที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจึงเคลื่อนที่ขึ้นมาด้านบนพร้อมกับเป็นตัวกลางพาความร้อนไปด้วย อนุภาคของของเหลวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าซึ่งอยู่ข้างเคียงจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ และเมื่ออนุภาคของของเหลวที่เข้ามาแทนที่ได้รับความร้อนก็จะเกิดกระบวนการแบบเดียวกับที่กล่าวมาซ้ำอีกอย่างต่อเนื่อง

          เมื่ออากาศหรือสสารในสถานะแก๊สได้รับความร้อน อนุภาคของแก๊สที่อยู่ห่างกันจะมีพลังงานสูงขึ้น เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น อนุภาคอยู่ห่างกันมากขึ้น แก๊สจึงมีปริมาตรมากขึ้น ทำให้ความหนาแน่นของแก๊สลดลง แก๊สที่มีอุณหภูมิสูงจะลอยตัวสูงขึ้นพร้อมกับพาความร้อนไปด้วย
          ดังนั้นสสารทั้งในสถานะของเหลวและแก๊สจึงมีการถ่ายโอนความร้อนโดยการพาความร้อน ซึ่งอนุภาคของสสารเป็นตัวกลางในการพาความร้อนไปพร้อมกับการเคลื่อนที่ของอนุภาค

การแผ่รังสีความร้อน (Heat  Radiation)

          การแผ่รังสีความร้อน คือ การถ่ายโอนความร้อนโดยการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งไม่ต้องอาศัยตัวกลาง          สสารที่มีพลังงานความร้อนจะสามารถแผ่ความร้อนออกมาในรูปของรังสีอินฟราเรด ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกมีบริเวณที่เป็นสุญญากาศ  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็ยังสามารถแผ่จากดวงอาทิตย์มายังโลกได้ จึงทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น



          การแผ่รังสีความร้อนจากแหล่งความร้อนต่าง ๆ โดยการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไม่อาศัยตัวกลางใด ๆ ในการเคลื่อนที่  โดยเขียนลูกศรแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งความร้อนแผ่ออกไปโดยรอบ  อย่างไรก็ตามการแผ่รังสีความร้อนเกิดในบริเวณที่มีตัวกลางก็ได้ เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถแผ่ผ่านอากาศได้







วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การศึกษาเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสิ่งจำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่?

การศึกษาเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสิ่งจำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่?


          สวัสดีค่ะนักเรียน วันนี้ครูจะนำนักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมเรื่อง 

การศึกษาเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสิ่งจำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสงหรือไม่? จากวีดีโอดีๆ ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wadQ2W6-yN4 กันนะคะ


ปัจจัยในการสร้างอาหารของพืชมีอะไรบ้าง

ปัจจัยในการสร้างอาหารของพืชมีอะไรบ้าง


        สวัสดีค่ะนักเรียนที่น่ารัก วันนี้ครูมีวีดีโอดีๆ เกี่ยวกับ การทดลองเรื่องปัจจัยในการสร้างอาหารของพืชมีอะไรบ้าง  

ที่ผลิตโดย สวท.จาก https://www.youtube.com/watch?v=g-MmYVLbYP0 มาให้นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมนะคะ



กิจกรรมที่ 4.5 การสังเคราะห์ด้วยแสงได้ผลผลิตใดอีกบ้าง

กิจกรรมที่ 4.5 การสังเคราะห์ด้วยแสงได้ผลผลิตใดอีกบ้าง

           สวัสดีค่ะนักเรียนที่น่ารัก วันนี้ครูมีวีดีโอดีๆ เกี่ยวกับ การทดลองเรื่องปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง วิทยาศาสตร์ ม.1 ที่ผลิตโดย สสวท.จาก https://www.youtube.com/watch?v=g-MmYVLbYP0 มาให้นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมนะคะ



วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ธาตุและอะตอม

ธาตุและอะตอม

     สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับธาตุและอะตอมนะคะว่าคืออะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยเราจะศึกษาจาก    วีดีโอน่ารักๆ จากยูทูปกันนะคะ (https://www.youtube.com/watch?v=kJ-6Qy05u_Q)


ประโยชน์และโทษสารกัมมันตรังสี

 

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์และโทษสารกัมมันตรังสีจากวีดีโอในยูทูปกันนะคะ (https://www.youtube.com/watch?v=fOIgx7Q5un0)


อะตอมของธาตุ


อะตอมของธาตุ


อะตอมของธาตุ  ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐาน 3 ชนิด 

คือ โปรตอน (proton) นิวตรอน (neutron) และอิเล็กตรอน (electron)



     โปรตอนมีประจุไฟฟ้าบวก ธาตุชนิดเดียวกันมีจำนวนโปรตอนเท่ากันและเป็นค่าเฉพาะของธาตุนั้น    
     นิวตรอนเป็นกลางทางไฟฟ้า 
     ส่วนอิเล็กตรอนมีประจุไฟฟ้าลบ 
     เมื่ออะตอมมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนจะเป็นกลางทางไฟฟ้า 
     โปรตอนและนิวตรอนรวมกันตรงกลางอะตอมเรียกว่า นิวเคลียส
     ส่วนอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่ในที่ว่างรอบนิวเคลียส


      เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ หมั่นอ่านทบทวนบ่อยๆ ก็จะเก่งขึ้นค่ะ