วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2562

อุณหภูมิอากาศ



อุณหภูมิอากาศ

อุณหภูมิอากาศเป็นหนึ่งในองค์ประกอบลมฟ้าอากาศ ซึ่งส่งผลต่อสภาพลมฟ้าอากาศในแต่ละพื้นที่ อุณหภูมิอากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาในรอบวันและพื้นที่ที่ศึกษา เราสามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในรอบ 24 ชั่วโมง ได้จากอุณหภูมิอากาศรายชั่วโมง ในวันที่ 17-19 ธันวาคม 2559 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งพบว่าอุณหภูมิอากาศสูงสุดและต่ำสุดของวันเกิดขึ้นในช่วงเวลา 14.00-16:00 .
และช่วงเวลา 05:00-06:00 . ตามลำดับ  



  
              ภาพที่ 6.1 อุณหภูมิอากาศรายชั่วโมง ในวันที่ 17-19 ธันวาคม 2559 
                                 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ที่มา สสวท. (2561, 112)

          ปัจจัยที่ส่งผลให้อุณหภูมิอากาศแต่ละพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงในรอบวันแตกต่างกัน ได้แก่
พลังงานจากดวงอาทิตย์และลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ เช่น ลักษณะอาคาร สภาพกลางแจ้ง หรือในร่ม  ความใกล้ไกลแหล่งน้ำ 💕
          ทุก ๆ วันดวงอาทิตย์ส่องแสงและแผ่รังสีมายังโลก เวลากลางวันพื้นผิวโลกดูดกลืนรังสีจากดวงอาทิตย์ไว้แล้วค่อย ๆ ลดลง  จนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเข้าสู่เวลากลางคืน 💕
          พื้นผิวโลกมีการรับรังสีและถ่ายโอนพลังงานความร้อนไปสะสมในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีอุณหภูมิอากาศสูงสุด (maximum air temperature) ในช่วงบ่ายเวลาประมาณ 14.00-16.00 น. จากนั้นอุณหภูมิอากาศจึงค่อย ๆ ลดต่ำลง 💕
          เวลากลางคืน แม้พื้นผิวโลกไม่ได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ แต่ยังมีพลังงานความร้อนส่วนหนึ่งที่สะสมไว้ และค่อย ๆ ถ่ายโอนความร้อนกลับสู่บรรยากาศจนมี อุณหภูมิอากาศต่ำสุด (minimum air temperature) ในช่วงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาประมาณ 05.00-06.00 น. จากนั้นเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นอุณหภูมิอากาศก็จะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น  อุณหภูมิอากาศในรอบวันจึงมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นและลดลงเช่นนี้ทุกวัน 💕
          อุณหภูมิอากาศในช่วงเวลากลางคืนต่ำกว่าช่วงเวลากลางวัน  เนื่องจากช่วงกลางคืนโลกไม่ได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ อีกทั้งพื้นผิวโลกยังมีการถ่ายโอนความร้อนกลับสู่บรรยากาศ
         


              ภาพที่ 6.2 การดูดกลืนและคายพลังงานของพื้นผิวโลกในเวลากลางวัน
                                      และกลางคืน  ที่มา สสวท. (2561, 113)

            ในพื้นที่เดียวกัน วันที่มีปริมาณเมฆมาก จะทำให้แสงอาทิตย์ส่องลงมายังพื้นโลกได้น้อย ทำให้พื้นโลกมีอุณหภูมิต่ำกว่าวันที่ไม่มีเมฆ ส่วนลมจะพัดพาอากาศให้เคลื่อนที่ไป ถ้าลมพัดพาอากาศร้อนมาแทนที่จะทำให้พื้นที่นั้นมีอุณหภูมิอากาศสูงขึ้นกว่าเดิม หากลมพัดพาอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำมาแทนที่จะทำให้อุณหภูมิอากาศบริเวณนั้นลดต่ำลง

          ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้งใกล้-ไกลจากแหล่งน้ำ  
ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้อุณหภูมิอากาศแต่ละแห่งมีค่าต่างกัน 

          ในแต่ละพื้นที่ที่มีสิ่งแวดล้อมต่างกัน ในบริเวณที่ร่มอุณหภูมิจะต่ำกว่าบริเวณกลางแจ้ง เนื่องจากต้นไม้ช่วยให้ร่มเงา ทำให้พื้นที่ดังกล่าวรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้น้อย จึงถ่ายโอนความร้อนให้อากาศได้น้อยลง ในขณะที่บริเวณกลางแจ้งไม่มีร่มเงา  พื้นที่ดังกล่าวได้รับพลังงานจากรังสีของดวงอาทิตย์โดยตรง จึงถ่ายโอน
ความร้อนให้อากาศได้มากกว่า มีผลทำให้อุณหภูมิอากาศบริเวณกลางแจ้งสูงกว่าบริเวณที่ร่ม 

          ลักษณะภูมิประเทศ ละติจูด และความสูงต่ำของพื้นที่ มีผลต่ออุณหภูมิอากาศเช่นกัน สำหรับประเทศไทยพบว่าอุณหภูมิอากาศสูงสุดในแต่ละภูมิภาคมีค่าแตกต่างกัน และพบว่าอุณหภูมิอากาศสูงสุดในประเทศไทย 
ส่วนใหญ่มีค่า 28-30 องศาเซลเซียส          



              ภาพที่ 6.3 อุณหภูมิสูงสุดในแต่ละพื้นที่ ประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2559     
                                                             ที่มา สสวท. (2561, 115)

        ในพื้นที่เดียวกัน วันที่มีปริมาณเมฆมาก จะทำให้แสงอาทิตย์ส่องลงมายังพื้นโลกได้น้อย ทำให้พื้นโลกมีอุณหภูมิต่ำกว่าวันที่ไม่มีเมฆ ส่วนลมจะพัดพาอากาศให้เคลื่อนที่ไป ถ้าลมพัดพาอากาศร้อนมาแทนที่จะทำให้พื้นที่นั้นมีอุณหภูมิอากาศสูงขึ้นกว่าเดิม หากลมพัดพาอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำมาแทนที่จะทำให้อุณหภูมิอากาศบริเวณนั้นลดต่ำลง
          ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้งใกล้-ไกลจากแหล่งน้ำล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้อุณหภูมิอากาศแต่ละแห่งมีค่าต่างกัน
          ในแต่ละพื้นที่ที่มีสิ่งแวดล้อมต่างกัน ในบริเวณที่ร่มอุณหภูมิจะต่ำกว่าบริเวณกลางแจ้ง เนื่องจากต้นไม้ช่วยให้ร่มเงา ทำให้พื้นที่ดังกล่าวรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้น้อย จึงถ่ายโอนความร้อนให้อากาศได้น้อยลง ในขณะที่บริเวณกลางแจ้งไม่มีร่มเงา  พื้นที่ดังกล่าวได้รับพลังงานจากรังสีของดวงอาทิตย์โดยตรง จึงถ่ายโอน
ความร้อนให้อากาศได้มากกว่า มีผลทำให้อุณหภูมิอากาศบริเวณกลางแจ้งสูงกว่าบริเวณที่ร่ม
          ลักษณะภูมิประเทศ ละติจูด และความสูงต่ำของพื้นที่ มีผลต่ออุณหภูมิอากาศเช่นกัน สำหรับประเทศไทยพบว่าอุณหภูมิอากาศสูงสุดในแต่ละภูมิภาคมีค่าแตกต่างกัน และพบว่าอุณหภูมิอากาศสูงสุดในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีค่า 28-30 องศาเซลเซียส
  

                                 ภาพที่ 6.3 อุณหภูมิสูงสุดในแต่ละพื้นที่ ประจำวันที่ 31 ธันวาคม 2559     
                                                                      ที่มา สสวท. (2561, 115)

การใช้เทอร์มอมิเตอร์รูปตัวยูวัดอุณหภูมิอากาศ

           เทอร์มอมิเตอร์รูปตัวยู (U-tube maximum-minimum thermometer) ประกอบด้วยหลอดรูปตัวยู
ซึ่งมีเข็มชี้ (Indicator Pin) ทั้งสองด้าน ด้านขวามือแสดงอุณหภูมิอากาศสูงสุดและด้านซ้ายมือแสดงอุณหภูมิอากาศต่ำสุดในช่วงที่เวลาศึกษา เทอร์มอมิเตอร์ด้านขวามือแสดงอุณหภูมิอากาศสูงสุด ปรอทจะเคลื่อนที่จากล่างขึ้นบนเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น (เหมือนกับเทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้กันทั่วไป) โดยปรอทจะเคลื่อนที่ไปดันเข้มชี้ขึ้นไปค้างไว้ให้อ่านค่าอุณหภูมิสูงสุดได้ ส่วนด้านซ้ายมือที่แสดงอุณหภูมิอากาศต่ำสุด ปรอทจะเคลื่อนที่จากล่างขึ้นบนเมื่ออุณหภูมิต่ำลง โดยปรอทจะเคลื่อนที่ไปดันเข้มชี้ขึ้นไปค้างไว้ให้อ่านค่าอุณหภูมิต่ำ  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เราสามารถอ่านค่าอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุดในช่วงเวลาที่ต้องการศึกษาได้  โดยทั่วไปจะใช้เทอร์มอมิเตอร์รูปตัวยูในการวัดอุณหภูมิสูงสุด-ต่ำสุดในรอบ 1 วัน             
          นอกจากนี้เทอร์มอมิเตอร์รูปตัวยูยังสามารถวัดอุณหภูมิอากาศปัจจุบัน (current temperature) โดยอ่านค่าจากระดับของเหลวในกระเปาะ ณ เวลาที่อ่านได้ เมื่ออ่านและบันทึกข้อมูลเรียบร้อยให้กดปุ่มรีเซ็ต (reset) ค้างไว้จนกว่าเข็มชี้จะลดระดับลงมาจนสัมผัสกับปรอท เพื่อให้เทอร์มอมิเตอร์พร้อมใช้ในการตรวจวัดอุณหภูมิอากาศครั้งต่อไป


                                                       ภาพที่ 6.4 การใช้เทอร์มอมิเตอร์รูปตัวยู     
                                                          ที่มา สสวท. (2561, 111)        

 โรคหน้าร้อน

          อุณหภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย เช่น อากาศร้อนส่งผลให้มีโอกาสเป็นโรคลมแดด (Heat stroke) และส่งผลกระทบทางอ้อม เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด โรคอุจจาระร่วงอย่างแรงหรืออหิวาตกโรค โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ โรคไข้ไทฟอยด์ เป็นต้น
   
โรคหน้าหนาว

อากาศหนาว ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม ถ้าเราทราบค่าอุณหภูมิของอากาศในแต่ละวัน หรือแนวโน้มของค่าอุณหภูมิอากาศ  จะสามารถเตรียมรับมือจากผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้









เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ค่อยๆเรียนรู้ และหมั่นทบทวนความรุ้ด้วยนะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ 







ใบงานที่ 6.1 อากาศ


          


ให้นักเรียนลากเส้นจับคู่ข้อความทางด้านซ้ายและขวาที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุดนะคะ


          1. อุณหภูมิ                      อุปกรณ์ในการวัดอุณหภูมิ          2. เทอร์มอมิเตอร์              ระดับของพลังงานความร้อน          3. การนำความร้อน            การถ่ายโอนความร้อนผ่านอากาศ          4. การพาความร้อน            การถ่ายโอนความร้อนผ่านของแข็ง          5. การแผ่รังสีความร้อน        การถ่ายโอนความร้อนจาก                                              ดวงอาทิตย์มายังโลก


สวัสดีค่ะ เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ