วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562

บรรยากาศของเรา


บรรยากาศของเรา


การเกิดบรรยากาศของโลก

          เมื่อโลกเกิดขึ้นในช่วงแรก ๆ โลกไม่มีบรรยากาศห่อหุ้ม



                      ภาพที่ 5.1 โลกไม่มีบรรยากาศห่อหุ้ม     
                                                     ที่มา สสวท. (2561, 104)

   
       การระเบิดของภูเขาไฟบนโลกทำให้เกิด
ไอน้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สแอมโมเนียเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของบรรยากาศเริ่มแรกของโลก




                 ภาพที่ 5.2 องค์ประกอบของบรรยากาศเริ่มแรกของโลก     
                                                     ที่มา สสวท. (2561, 104)

        
            แบคทีเรียเกิดขึ้นในมหาสมุทร ซึ่งใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในการดำรงชีวิตและปล่อยแก๊สออกซิเจนสู่บรรยากาศ ส่วนแอมโมเนียในชั้นบรรยากาศได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ และแตกตัวเป็นแก๊สไนโตรเจน และแก๊สไฮโดรเจน




            ภาพที่ 5.3 การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของบรรยากาศเริ่มแรกของโลก     
                                                       ที่มา สสวท. (2561, 104)

          ชั้นบรรยากาศของโลกพัฒนาอย่างช้า ๆ เป็นเวลาหลายพันล้านปี ตั้งแต่ยุคแรกเริ่มจนเกิดเป็นบรรยากาศในยุคปัจจุบัน  โดยมีองค์ประกอบของของแก๊สในบรรยากาศประกอบไปด้วย แก๊สไนโตรเจน 78% แก๊สออกซิเจน 21% แก๊สอาร์กอน แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สอื่น ๆ 1% 
(ไม่รวมไอน้ำซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม)


                                            ภาพที่ 5.4 ภาพบรรยากาศในยุคปัจจุบัน 
                                                    ที่มา สสวท. (2561, 104)

          เมื่อศึกษาบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกพบว่าในแต่ละระดับความสูง บรรยากาศมีองค์ประกอบและสมบัติแตกต่างกันไป  นักวิทยาศาสตร์ใช้สมบัติและองค์ประกอบดังกล่าวแบ่งบรรยากาศของโลกออกเป็นชั้น  ซึ่งแบ่งได้หลายรูปแบบตามเกณฑ์ที่ใช้และลักษณะที่สนใจศึกษา  โดยทั่วไปนักวิทยาศาสตร์แบ่งชั้นบรรยากาศ (Atmospheric layers) โดยใช้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความสูง (vertical profile of temperature) ซึ่งแบ่งได้เป็น 
    
       ชั้นโทรโพสเฟียร์ (troposphere
       ชั้นสตราโตสเฟียร์ (stratosphere) 
       ชั้นมีโซสเฟียร์ (mesosphere
       ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere
       ชั้นเอกโซสเฟียร์ (exosphere)

ชั้นโทรโพสเฟียร์ (troposphere)

         ชั้นนี้อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงจากผิวโลก เป็นชั้นที่มีความหนาแน่นของอากาศสูงที่สุดและพบไอน้ำมากที่สุด เกิดเมฆ ฝน พายุฟ้าคะนองในบรรยากาศชั้นนี้


ชั้นสตราโตสเฟียร์ (stratosphere)

          ชั้นนี้อุณหภูมิจะเพิ่มตามความสูงจากผิวโลก ในชั้นนี้มีปริมาณโอโซนอยู่มาก โดยโอโซน 1 โมเลกุล ประกอบด้วยออกซิเจน 3 อะตอม โอโซนในบรรยากาศจะดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ พบความเข้มข้นของโอโซนสูงสุดที่ระดับความสูงประมาณ 20-30 กิโลเมตร
         



ชั้นมีโซสเฟียร์ mesosphere)

          ชั้นนี้อุณหภูมิจะลดตามความสูงอีกครั้ง และเป็นชั้นสุดท้ายที่มีสัดส่วนของแก๊สในอากาศคงที่เหมือนบรรยากาศสองชั้นแรก เมื่อมีวัตถุนอกโลกผ่านเข้ามาจะเริ่มเกิดการเผาไหม้ในบรรยากาศชั้นนี้









ชั้นเทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere)

          ชั้นนี้อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นตามความสูงจนถึงประมาณ 1,700 องศาเซลเซียส เนื่องจากอุณหภูมิสูงอากาศจึงแตกตัวเป็นประจุ หรือสามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้และมีปรากฏการณ์แสงเหนือแสงใต้เกิดขึ้น อนุภาคอากาศในชั้นเทอร์โมสเฟียร์เบาบางมาก
         
ชั้นเอกโซสเฟียร์ (exosphere)

          ชั้นนี้เป็นชั้นขอบเขตสูงสุดของบรรยากาศของโลกเชื่อมต่อกับอวกาศ บรรยากาศเบาบางมากจนแทบไม่มีอนุภาคอากาศ อาจพบอนุภาคอากาศ 1 อนุภาค ในระยะ 10 กิโลเมตร



                                                      ภาพที่ 5.5 ชั้นบรรยากาศของโลก 
                                                      ที่มา สสวท. (2561, 107)
 มาฝึกฝนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมกับเรื่องชั้นบรรยากาศกันนะคะ 
             
                                        https://www.youtube.com/watch?v=5sg9sCOXFIk


 เป็นอย่างไรกันบ้างคะ บรรยากาศแต่ละชั้น ไม่ยากเกินไปสำหรับเด็กดีของคุณครูใช่ไหมคะ สู้ๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ




























 
























                                          ภาพที่ 5.5 ชั้นบรรยากาศของโลก 
                                                ที่มา สสวท. (2561, 107)

11 ความคิดเห็น:

  1. ดีครับๆดี
    อภิสิทธิ์ ควรพิมาย

    ตอบลบ
  2. อ่านแล้วเข้าใจครับ
    ด.ช.พีระพล หมื่นไธสง เลขที่7 ชั้นม.1/3

    ตอบลบ
  3. อ่านแล้วไงความรู้มากเลยคับ
    ชนกันต์ รักไร่ เลขที่4 ชั้น ม1/3

    ตอบลบ
  4. อ่านแล้วเข้าใจง่าย รู้เรื่อง(●﹏●)...รู้เรื่องครับ
    ..........ครับ........





    ด.ช.ศราวุฒ ร่มพิมาย ม.1/3 เลข11
    ✔❓❓❓❓❔❔❔❔❔🔑❗‼🔊📧

    ตอบลบ
  5. อ่านเข้าใจมากครับ
    ด.ช.ณัฐภูมิ เหียมไธสง
    ม.1/3เลขที่5

    ตอบลบ
  6. อ่านแล้วครับ ดีครับ รู้เรื่องครับ จริงๆครับ น่าจะรู้ครับ สุดยอดครับ เข้าใจครับ



    (ด.ช.กอบุญ ทางดง)[เลขที่2}
    (NANI)

    ตอบลบ
  7. อ่านแล้วเข้าใจ กิตติศักดิ์ แขวงสารคาม
    ชั้นม.1/3เลขที่1😁😁😁😁

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ24 มกราคม 2562 เวลา 03:36

    อ่านแล้วเข้าใจมากค่ะ
    ด.ญ.แพรวา พิทักษ์กาสร ม.1/2 เลขที่27

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ24 มกราคม 2562 เวลา 03:36

    อ่านแล้วเข้าใจมากค่ะ
    ด.ญ.แพรวา พิทักษ์กาสร ม.1/2 เลขที่27

    ตอบลบ
  10. อ่านแล้วได้ความรู้คะ ด.ญ.กชกร ทำไถ ม.1/2 เลขที่15

    ตอบลบ