วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

ติวเตรียมสอบ O-Net ม.3 วิทยาศาสตร์ Part 6(พันธุกรรม) By Krupm

ติวเตรียมสอบ O-Net ม.3 วิทยาศาสตร์ Part 6(พันธุกรรม) By Krupm
ขอบคุณนะคะ Krupm เด็กๆ และครู ชอบมากค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2561

สรุปเตรียมสอบกลางภาค 2

สรุปเตรียมสอบกลางภาค 2

 ถ้าโลกเราไม่มีบรรยากาศห่อหุ้ม อุณหภูมิในช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน อุณหภูมิในช่วงกลางวันสูงมาก อุณหภูมิในช่วงกลางคืนต่ำมาก


 บรรยากาศชั้น โทรโพสเฟียร์ที่มีความแปรปรวนของสภาพลมฟ้าอากาศมากที่สุด


 โอโซนจะอยู่ในบรรยากาศชั้น สตราโตสเฟียร์มากที่สุด


 เมื่อวัตถุนอกโลกผ่านเข้ามาจะเริ่มเกิดการเผาไหม้ที่บรรยากาศชั้นมีโซสเฟียร์


 บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์อากาศแตกตัวเป็นประจุสามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้

 แก๊สโอโซนในชั้นบรรยากาศมีประโยชน์ช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งผิวหนัง

 การคมนาคมทางอากาศจะเดินทางที่
ชั้นโทรโพสเฟียร์ของบรรยากาศ


บริเวณบนยอดเขาสูงจะมีอุณหภูมิต่ำที่สุด 
บริเวณหุบเขามีความดันบรรยากาศสูงที่สุด


 บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ และมีโซสเฟียร์อุณหภูมิลดตามความสูง


 บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์และเทอร์โมสเฟียร์ อุณหภูมิเพิ่มตามความสูง


 แก๊สไนโตรเจนพบเป็นส่วนประกอบของอากาศแห้งมากที่สุด


 เครื่องมือวัดความดันบรรยากาศเรียกว่าบารอมิเตอร์


 อุณหภูมิของอากาศเวลากลางวันสูงกว่าในเวลากลางคืน
บริเวณป่ากับบริเวณที่มีต้นไม้น้อยอุณหภูมิอากาศแตกต่างกัน
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออุณหภูมิของอากาศที่บริเวณใดๆ คือรังสีจากดวงอาทิตย์ที่โลกดูดกลืนไว้
ในวันที่ท้องฟ้ามีปริมาณเมฆแตกต่างกัน อุณหภูมิของ อากาศแตกต่างกัน


บริเวณที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำพัดผ่าน  ท้องฟ้าจะมีเมฆฝน  อากาศร้อนอบอ้าว

อากาศในที่ระดับสูงมีความกดดันต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเพราะ อากาศในบริเวณที่สูงมีมวลเบาบางกว่าอากาศในบริเวณที่ต่ำ

ความดันอากาศลดลงตามความสูง
เครื่องมือที่ใช้วัดความดันอากาศเรียกว่าบอรอมิเตอร์
บาร์รอมิเตอร์แบบแอนนิรอยด์ใช้วัดความดันอากาศได้แม่นยำที่สุด
ความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเลมีค่าเฉลี่ย 760  มิลลิเมตรของปรอท


ลมเกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ
ในการวัดทิศทางลมนิยมใช้ศรลม
หัวลูกศรของศรลมจะชี้ไปยังทิศทางที่ลมพัดมาก
ในการวัดอัตราเร็วลมนิยมใช้มาตรวัดอัตราเร็วลมแบบถ้วย


ลมที่พัดเป็นประจำในพื้นที่หนึ่งๆ เรียกว่าลมประจำถิ่น  
 ลมที่เกิดจากความแตกต่างของความดันอากาศบริเวณทะเลและแผ่นดินเรียกว่าลมทะเล ลมบก
 ลมที่เกิดจากความแตกต่างของความดันอากาศบริเวณหุบเขาและภูเขาเรียกว่าลมหุบเขา ลมภูเขา
 ลมมรสุมเกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน และพื้นน้ำ


ความชื้นอากาศคือปริมาณไอน้ำในอากาศ สภาวะที่อากาศรับปริมาณไอน้ำได้สูงสุดเรียกว่าอากาศอยู่ในสภาวะอิ่มตัวด้วยไอน้ำ
ปริมาณไอน้ำสูงสุดที่อากาศสามารถรับไว้ได้เรียกว่า ปริมาณไอน้ำอิ่มตัว


ความดันอากาศที่ระดับน้ำทะเลมีค่าเฉลี่ย 760 มิลลิเมตรปรอท ยิ่งสูงความดันจะยิ่งลดลง โดยทุกๆ ความสูงที่เพิ่มขึ้น 11 เมตร ความดันจะลดลง 1 มิลลิเมตรปรอท

ชาวประมงใช้ลมบกออกเรือไปหาปลาในทะเลเวลากลางคืน


 ประเภทของพายุแบ่งโดยใช้ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 


ลมดีเปรสชันมีความเร็วลมต่ำกว่าใต้ฝุ่น โซนร้อน ไซโคลน



ดีเปรสชัน ชื่อพายุหมุนที่มีกำลังอ่อน ปกคลุม บริเวณไม่กว้าง
  พายุไซโคลน เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น วิลลี-วิลลี บาเกียว และพายุหมุนเขตร้อน คือพายุชนิดเดียวกันแต่มีชื่อเรียกต่างกันไปตามถิ่นที่เกิดเท่านั้น ชื่อเรียกกลางคือ "พายุหมุนเขตร้อน" (Tropical cyclone)
  • เกิดในชายฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเรียกว่า เฮอร์ริเคน (Hurricane)
  • เกิดในอ่าวเบงกอลและ มหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า ไซโคลน (cyclone)
  • เกิดแถบนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี-วิลลี (Willy-willy)
  • เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon)
  • เกิดในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เรียกว่า บาเกียว (Baguio)
 
 
เมฆอัลโตสเตรตัสมีลักษณะเป็นแผ่นปกคลุมบริเวณกว้าง บริเวณฐานเมฆจะเป็นสีเทาหรือสีฟ้า



 คิวมูโลนิมบัสทำให้เกิดฝนตกหนัก ลมแรง และเกิดพายุฟ้าคะนอง  


 หน่วยที่ใช้ในการวัดปริมาณน้ำฝนคือมิลลิเมตร
 ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมมีปริมาณฝน
 เฉลี่ยสูงซึ่งตรงกับฤดูฝน
 ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนมีปริมาณ
 ฝนเฉลี่ยต่ำซึ่งตรงกับฤดูหนาวและฤดูร้อน
 ในการกำหนดฤดูไม่ได้ใช้ปริมาณฝนเฉลี่ยเป็นเกณฑ์ เพียงอย่างเดียว


 H บนแผนที่อากาศคือศูนย์กลางของบริเวณ  
ความดันอากาศสูง
L บนแผนที่อากาศคือศูนย์กลางของบริเวณความดันอากาศต่ำ
เส้นที่ลากบนแผนที่อากาศคือเส้นความดันอากาศเท่า  





                    
ขอให้ทุกคนโชคดีนะคะ

เตรียมสอบกลางภาค 1

เตรียมสอบกลางภาค 1




ลมบกพัดจากชายฝั่งออกสู่ทะเล  ลมทะเลพัดจากทะเลเข้าสู่ชายฝั่ง 





น้ำฟ้าคือน้ำที่ตกลงมาจากฟ้าในรูปแบบต่างๆ  ได้แก่ ฝน หิมะ และลูกเห็บ



















 

เอลนีโญทำให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนลานีญาทำให้เกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ตัวอย่างกิจกรรมที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เช่น เผาขยะ ใช้โฟม การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง 
ตัดไม้ทำลายป่า เลี้ยงสัตว์ 
การเกษตรกรรม การทำเหมืองแร่

การทำอุตสาหกรรม





ตัวอย่างกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝนกรด เช่น การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตกระแสไฟฟ้า 
โรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ดีเซล  เบนซิน การระเบิดของภูเขาไฟ 
การเน่าเปื่อยของพืชและแพลงตอน

ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน 
เช่น ปลูกต้นไม้ ไม่ตัดไม้ทำลายป่าลดใช้พลังงาน ลดการรับประทานเนื้อสัตว์ รับประทานอาหารให้หมด