วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สารบริสุทธิ์

สารบริสุทธิ์


    1.สารบริสุทธิ์ ( Pure Substance )  เป็นสารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารเพียงอย่างเดียว  ไม่มีสารอื่นเจือปน ได้แก่  ธาตุและสารประกอบ


                ธาตุ  (Element)  

                เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมเพียงชนิดเดียว ธาตุจึงไม่สามารถแบ่งย่อยลงไปได้อีกเนื่องจากอะตอมทั้งหมดในสารนั้นเป็นชนิดเดียวกัน อะตอมของธาตุบางชนิดอยู่รวมกันเป็นผลึก เช่น   

                ธาตุเหล็ก ( Fe ) 

                 ธาตุทองคำ ( Au )  

                 ธาตุสังกะสี ( Zn )  

                 ธาตุเงิน  ( Ag ) เป็นต้น  

                ธาตุบางชนิดมีอะตอมอยู่รวมกันเป็นโมเลกุล เช่น 

                ธาตุออกซิเจน ( O2 )  

                ธาตุไนโตรเจน (N2 )  

                ธาตุคลอรีน (Cl2 )  

                ธาตุฟอสฟอรัส (P4 )

               ธาตุกัมมะถัน (S8 )  เป็นต้น  

               ธาตุบางชนิดอะตอมจะอยู่อย่างอิสระเพียงลำพัง เช่น  

               ธาตุฮีเลียม ( He )  

               ธาตุนีออน ( Ne ) 

               และธาตุอาร์กอน ( Ar ) ซึ่งจัดเป็นธาตุเฉื่อย

                     นักวิทยาศาสตร์ใช้สมบัติทางกายภาพจำแนกธาตุออกเป็น กลุ่ม  คือ                     1.โลหะ ( Metals ) เป็นธาตุที่มีมากที่สุดส่วนใหญ่มีสถานะของแข็งที่อุณหภูมิห้อง ยกเว้นปรอท  มีสมบัติทั่วไป คือ  นำความร้อนได้ดี     มีความเหนียว  นำไฟฟ้าได้ดี ผิวเป็นมันวาว  สะท้อนแสงได้ ตีเป็นแผ่นบางได้  เช่น เหล็ก  ทองคำ  เงิน  เป็นต้น                      2. อโลหะ ( Nonmetals ) เป็นธาตที่มีจำนวนมากรองลงมาจากโลหะมีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลวและแก๊ส แต่ส่วนใหญ่จะมรสถานะแก๊สที่อุณหภูมิห้อง  มีสมบัติตรงกันข้ามกับโลหะ เช่น  ไฮโดรเจน  ออกซิเจน  ไนโตรเจน  คลอรีน  เป็นต้น                      3. กึ่งโลหะ (Metalloids ) อาจเรียกได้ว่าสารกึ่งตัวนำ ( Semiconductors ) เป็นธาตุที่มีจำนวนน้อยมากมีสมบัติของโลหะและอโลหะอยู่ในธาตุเดียวกัน   เช่น  พลวง  สารหนู   ซิลิคอน  โบรอน  เป็นต้น
                    สารประกอบ                    สารประกอบ ( Compound )  เป็นสารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุตั้งแต่ ชนิดขึ้นไปมารวมกันทางเคมีด้วยอัตราส่วนที่คงที่เกิดเป็นสารชนิดใหม่ที่มีสมบัติแตกต่างไปจากเดิมอย่างเด่นชัด  เช่น  โซเดียม ( Na ) เป็นโลหะสีเงินอ่อน-ขาวทำปฏิกิริยากับน้ำ  กับ คลอรีน ( Cl ) เป็นแก๊สพิษสีเหลือง-อมเขียว มีกลิ่นฉุนว่องไวต่อปฏิกิริยา เมื่อนำมารวมกันทางเคมี  จะได้โซเดียมคลอไรด์ ( NaCl ) หรือเกลือแกง ซึ่งเป็นของแข็งสีขาว รสเค็ม ละลายน้ำได้ดี  รับประทานได้  เป็นต้น            

                  โดยทั่วไปสัญญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนชื่อสารประกอบจะอยู่ในรูปของสูตรโมเลกุล

                 สู้ สู้ นะคะ เด็กๆ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น