วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ความชื้น


วามชื้น

         
          เมื่อน้ำจากแหล่งต่างๆ ระเหยกลายเป็นไอน้ำอยู่ในอากาศจะทำให้อากาศมีความชื้น  ความชื้นในอากาศเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเมฆ หมอก น้ำค้าง หรือรูปแบบอื่นๆ ของหยาดน้ำฟ้า  

                                        💕💕💕💕💕💕

        ปริมาณไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศหรือความชื้นสัมบูรณ์ (absolute humidity)  หาได้จากมวลของไอน้ำซึ่งมีอยู่จริงในอากาศที่อุณหภูมิและความดันหนึ่งๆ ต่อปริมาตร  โดยมีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรืออาจคำนวณได้จากสูตร

                                      
                                                💕💕💕💕💕💕

       ณ อุณหภูมิและความดันหนึ่งๆ อากาศสามารถรับไอน้ำในอากาศได้ปริมาณจำกัด ปริมาณไอน้ำสูงสุดที่อากาศสามารถรับได้ ณ อุณหภูมิและความดันหนึ่งๆ ในหนึ่งหน่วยปริมาตร เรียกว่า ปริมาณไอน้ำอิ่มตัว (saturated water vapor)  พิจารณากราฟต่อไปนี้

 

                ภาพที่ 8.1 กราฟแสดงไอน้ำอิ่มตัวในอากาศที่อุณหภูมิต่างๆ     
                                                  ที่มา สสวท. (2561, 132)

          การหาความชื้นสัมบูรณ์ทำให้ทราบความชื้นในอากาศขณะนั้น  แต่ไม่ทราบว่าในขณะนั้นอากาศมีความชื้นมากหรือน้อยเพียงใด  การหาความชื้นอากาศจึงนิยมหาเป็น ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity)  ซึ่งเป็นค่าเปรียบเทียบปริมาณไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศกับปริมาณไอน้ำอิ่มตัว ณ อุณหภูมิ ความดัน และปริมาตรเดียวกัน 

                                              💕💕💕💕💕💕

          ค่าความชื้นสัมพัทธ์บอกได้ว่าในขณะนั้นอากาศมีความชื้นมากหรือน้อยเมื่อเทียบกับความสามารถของอากาศที่จะรับไอน้ำทั้งหมด  อากาศจะสามารถรับปริมาณไอน้ำได้อีกมากน้อยเพียงใด
  


          ความชื้นสัมพัทธ์เป็นปริมาณเปรียบเทียบระหว่างไอน้ำซึ่งมีอยู่จริงและปริมาณไอน้ำอิ่มตัวที่อุณหภูมิ ความดันและปริมาตรเดียวกัน
               

                                         💕💕💕💕💕💕


ปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นสัมพัทธ์

          อุณหภูมิอากาศมีค่าต่ำในช่วงเช้าและเพิ่มสูงขึ้นจนกระทั่งช่วงบ่าย  จากนั้นจึงมีค่าลดลง
ความชื้นสัมพัทธ์ในบางพื้นที่เช่นบริเวณเรือนเพาะชำ มีค่าสูงในช่วงเช้าและลดต่ำลงจนกระทั่ง
ช่วงบ่าย  จากนั้นจึงมีค่าสูงขึ้น ส่วนในบริเวณกลางแจ้ง มีค่าสูงในช่วงเช้า และลดต่ำลงอีกในช่วงบ่าย

                                            💕💕💕💕💕💕

          อุณหภูมิอากาศ และความชื้นสัมพัทธ์มีแนวโน้มว่ามีความสัมพันธ์กัน  โดยเมื่ออุณหภูมิอากาศต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าสูง  อุณหภูมิอากาศสูงขึ้นความชื้นสัมพัทธ์มีค่าต่ำลง อาจเนื่องจากอุณหภูมิอากาศมีผลต่อปริมาณไอน้ำอิ่มตัวจึงส่งผลต่อค่าความชื้นสัมพัทธ์

                                           💕💕💕💕💕💕

          ในเวลาเดียวกันในแต่ละพื้นที่มีค่าความชื้นสัมพัทธ์แตกต่างกัน เช่น ณ เวลา 8:00 น. ความชื้นสัมพัทธ์ในเรือนเพาะชำมีค่า 85 เปอร์เซนต์ ในขณะที่บริเวณกลางแจ้งมีค่า 74 เปอร์เซนต์ แม้ว่าอุณหภูมิอากาศจะไม่แตกต่างกันมากโดยมีค่า 28.5 และ 29 องศาเซลเซียสตามลำดับ

                                           💕💕💕💕💕💕

          ความชื้นสัมพัทธ์กับพื้นที่ตรวจวัดมีความสัมพันธ์กัน  โดยพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำจะมีความชื้นสูงกว่าพื้นที่กลางแจ้ง เนื่องจากมีปริมาณไอน้ำจริงมากกว่า และพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณปิดจะมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่ากลางแจ้ง  เนื่องจากไอน้ำจริงไม่เคลื่อนย้ายจากบริเวณดังกล่าวมากนัก

                                                💕💕💕💕💕💕

          ในสภาวะที่อากาศนิ่งไม่ค่อยมีลมพัด  ปริมาณไอน้ำในอากาศในพื้นที่ไม่เปลี่ยนแปลงมาก ความชื้นสัมพัทธ์จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอากาศ  เมื่ออุณหภูมิอากาศต่ำในช่วงเช้า ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าสูง และเมื่ออุณหภูมิอากาศสูงในช่วงกลางวันหรือบ่ายความชื้นสัมพัทธ์จะมีค่าต่ำ เนื่องจากอุณหภูมิอากาศมีผลต่อปริมาณไอน้ำอิ่มตัว

                                               💕💕💕💕💕💕

          ความชื้นสัมพัทธ์ ในสภาวะปกติมีค่าสูงสุด 100 เปอร์เซนต์ แต่ในบางสภาวะอาจพบค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 100 เปอร์เซนต์ เราเรียกสภาวะนั้นว่าสภาวะอากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำยิ่งยวด (supersaturated) ซึ่งอาจเกิดได้จากการที่อากาศไม่มีตัวกลางให้ไอน้ำเกาะตัวเพื่อควบแน่น

                                             💕💕💕💕💕💕

          อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดความชื้นสัมพัทธ์ มีหลากหลาย เช่น ไซครอมิเตอร์ ไฮโกรมิเตอร์

                                          💕💕💕💕💕💕

          สรุปได้ว่าปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นสัมพัทธ์ ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ลักษณะทางกายภาพพื้นที่ที่ตรวจวัด และเวลาในการตรวจวัด

                                        💕💕💕💕💕💕

💖💖💖💖💖💖 เป็นอย่างไรกันบ้างคะ  นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับความชื้นกันแล้วนะคะ ใครที่คิดว่ายากก็ขอให้หมั่นอ่านทบทวนบ่อยๆ นะคะ ชัยชนะเป็นของนักเรียนที่หมั่นฝึกฝนแน่นอนค่ะ สู้ๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

แบบทดสอบหลังเรียน : ความกดอากาศและลม



แบบทดสอบหลังเรียน : ความกดอากาศและลม

1. ทิศทางของแรงดันอากาศมีลักษณะอย่างไร

    ก. อากาศมีแรงกระทำในทุกทิศทาง
    ข. อากาศมีแรงกระทำในทิศทางลงเท่านั้น
    ค. อากาศมีแรงกระทำในทิศทางขึ้นเท่านั้น
    ง. อากาศมีแรงกระทำในทิศจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย

                                  💕 💕 💕 💕 💕 💕

2. สถานการณ์ใดที่แสดงว่าอากาศมีความดัน
    ก. หายใจไม่ออกเมื่ออยู่ในที่สูง
    ข. การดูดของเหลวโดยใช้หลอดกาแฟ
    ค. บรรยากาศยังคงห่อหุ้มโลกไม่หลุดลอยออกไป
    ง. เมื่อโยนของขึ้นไปในอากาศ ของจะตกลงสู่พื้นเสมอ

                                   💕 💕 💕 💕 💕 💕

3. แรงที่อากาศกระทำต่อพื้นที่ 1 ตารางหน่วย คืออะไร
    ก. ความดันพื้นที่
    ข. ความดันอากาศ
    ค. แรงกระทำพื้นที่
    ง. แรงกระทำอากาศ

                                   💕 💕 💕 💕 💕 💕

 4. เมื่อระดับความสูงจากระดับทะเลมากความดันอากาศ
    จะเป็นอย่างไร
    ก. ความดันอากาศคงที่
    ข. ความดันอากาศจะสูง
    ค. ความดันอากาศจะต่ำ
    ง. ความดันอากาศไม่คงที่

                                 💕 💕 💕 💕 💕 💕

 5. ผิวโลกบริเวณที่อากาศมีอุณหภูมิสูงจะมีความดันอากาศอย่างไร
    ก. ความดันอากาศคงที่
    ข. ความดันอากาศจะสูง
    ค. ความดันอากาศจะต่ำ
    ง. ความดันอากาศไม่คงที่

                                  💕 💕 💕 💕 💕 💕

 6. การวัดความดันอากาศทำได้โดยใช้เครื่องมือใด
    ก. ปรอท
    ข. แอมมิเตอร์
    ค. บารอมิเตอร์
    ง. เทอร์มอมิเตอร์

                                        💕 💕 💕 💕 💕 💕

7. ข้อใด ไม่ได้ ใช้ประโยชน์จากความดันอากาศในการประดิษฐ์
    ก. บอลลูน
    ข. ตัวติดผนัง
    ค. ล้อรถจักยาน
    ง. ล้อรถถังทหาร

                                      💕 💕 💕 💕 💕 💕

8. บุคคลกลุ่มใด ไม่ได้ รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
    ความดันอากาศ
    ก. นักบิน
    ข. นักดำน้ำ
    ค. นักปีนเขา
    ง. นักวิ่งลมกรด 

                                   💕 💕 💕 💕 💕 💕

จากภาพ ตอบคำถามข้อ 9-10






9. อัตราเร็วลมในบริเวณใดมีค่ามากที่สุด
    ก. 1
    ข. 2
    ค. 3
    ง. 4

                                 💕 💕 💕 💕 💕 💕

10. อัตราเร็วลมในบริเวณใดมีค่าน้อยที่สุด
    ก. 1
    ข. 2
    ค. 3

    ง. 4

                               💕 💕 💕 💕 💕 💕

                  สู้ๆ นะคะ ขอให้โชคดีค่ะ

                       


วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ความกดอากาศและลม

ความกดอากาศและลม

ความกดอากาศ


        อากาศเป็นสสารที่มีสมบัติ คือ มีมวล ปริมาตร ต้องการที่อยู่ และมีแรงกระทำต่อวัตถุ  เมื่อแรงที่กระทำต่อวัตถุมากพอ อากาศจะสามารถทำให้สิ่งต่าง ๆ เคลื่อนที่หรือหยุดนิ่งได้ อากาศมีแรงดันในทุกทิศทาง แรงที่อากาศกระทำต่อพื้นที่ 1 ตารางหน่วย เรียกว่า ความดันอากาศ (air pressure) ในทางอุตุนิยมวิทยาเรียกความดันอากาศว่า ความกดอากาศ


ความดันอากาศ ณ ระดับความสูงต่าง ๆ จากผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงโดยเมื่อระดับความสูงเปลี่ยนแปลง ความดันอากาศก็มีค่าเปลี่ยนแปลงด้วย เมื่อระดับความสูงจากระดับทะเลน้อย
ความดันอากาศจะสูง แต่ถ้าสูงจากระดับทะเลมาก ความดันอากาศจะต่ำ เมื่อความสูงมากความดันอากาศจะต่ำ เมื่อความสูงน้อยความดันอากาศจะสูงเนื่องจากความหนาแน่นของอากาศจะลดลงตามความสูง


                         
   ภาพที่ 7.1 ความดันอากาศ ณ ระดับความสูงต่าง ๆ จากผิวโลก     
 ที่มา สสวท. (2561, 183)



                                         ภาพที่ 7.2 ความหนาแน่นของอากาศ ณ ระดับความสูงต่าง ๆ จากผิวโลก     
                                                                        ที่มา สสวท. (2561, 121)

         เมื่ออากาศได้รับพลังงานความร้อนจะทำให้อนุภาคอากาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้น จึงชนและดันผนังด้านในของลูกโป่ง ทำให้ความดันอากาศภายในลูกโป่งสูงขึ้น ลูกโป่งขยายใหญ่ขึ้น



                                                   ภาพที่ 7.3 ชุดทดลองผลของอุณหภูมิต่ออากาศ     

                                                     ที่มา สสวท. (2561, 122)

          อากาศภายในลูกโป่งถูกปิดล้อมโดยผนังลูกโป่งจึงไม่สามารถเคลื่อนที่ออกมาจากลูกโป่งได้ 

          สำหรับอากาศในบริเวณผิวโลกทั่ว ๆ ไป ไม่ถูกปิดล้อมแบบอากาศในลูกโป่ง เมื่ออากาศได้รับพลังงานความร้อน อากาศจะเคลื่อนที่กระจายตัวออกไปทุกทิศทาง  ส่งผลให้จำนวนอนุภาคอากาศต่อปริมาตรลดลง  อนุภาคอากาศจึงชนกันเองและชนพื้นผิวโลกน้อยลง  ทำให้ความดันอากาศบริเวณนั้นลดลงด้วย  
    
          ดังนั้นผิวโลกบริเวณที่อากาศมีอุณหภูมิสูงจึงมีความดันอากาศน้อยกว่าบริเวณที่อากาศมีอุณหภูมิต่ำ

การวัดความดันอากาศ

          การวัดความดันอากาศทำได้โดยการใช้บารอมิเตอร์ บารอมิเตอร์มีหายชนิด เช่น บารอมิเตอปรอท แอนนิรอยด์บารอมิเตอร์ บารอกราฟ ซึ่งมีหลักการในการบอกค่าความดันอากาศแตกต่างกันไป 


                                                                ภาพที่ 7.4 บารอมิเตอร์ชนิดต่าง ๆ     
                                                        ที่มา สสวท. (2561, 121)

ความดันอากาศในชีวิตประจำวัน


        มนุษย์ใช้ประโยชน์จากความดันอากาศในการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตัวติดผนัง ล้อรถจักรยาน ความดันอากาศยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น เมื่อนั่งรถจากพื้นที่ราบไปยังภูเขา หรือขึ้นลิฟท์ไปยังชั้นสูง ๆ อาจเกิดอาการหูอื้อ  เนื่องจากเมื่อระดับความสูงเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 

              ความดันอากาศภายนอกก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน แต่ความดันอากาศภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงได้ช้า ความดันอากาศภายในร่างกายมีค่าสูงกว่าความดันอากาศภายนอก จึงทำให้เกิดอาการหูอื้อ

              มีข้อแนะนำสำหรับนักปีนเขาว่าไม่ควรเปลี่ยนแปลงระดับความสูงเกิน 500 เมตร ต่อวัน เพื่อป้องกันอันตรายจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ          
             นักบิน ผู้โดยสารเครื่องบิน นักดำน้ำ นักปีนเขา บุคคลกลุ่มนี้ล้วนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ 
  
            พื้นที่บริเวณผิวสัมผัสของตัวติดผนังกับผนังไม่มีอากาศอยู่ในบริเวณดังกล่าวหรือเป็นสุญญากาศ อากาศภายนอกจึงดันตัวติดผนังให้ยึดติดกับผนังอยู่ได้ 

           แรงที่อากาศกระทำในล้อรถมีทุกทิศทุกทาง ล้อรถจึงพองลมอยู่ได้ทุกทิศทาง 

           อากาศร้อนในบอลลูนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศที่อยู่ข้างนอกโดยรอบ  บอลลูนจึงลอยสูงขึ้นไปในอากาศ
  
          การดูดของเหลวโดยใช้หลอดกาแฟ ความดันอากาศภายนอกหลอดกาแฟมีค่ามากกว่าภายในหลอด  จึงทำให้ของเหลวเคลื่อนที่เข้าไปในหลอดกาแฟได้ 


                                                                 ภาพที่ 7.4 บอลลูนลอยอยู่ในอากาศ     

                                                          ที่มา สสวท. (2561, 123)


ลม

        ลมเคลื่อนที่ได้เนื่องจากความแตกต่างของความดันอากาศ หรือในทางอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า ความกดอากาศ 
       โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของลม ได้แก่ 
      - ความกดอากาศระหว่าง 2 บริเวณ
           - ระยะห่างระหว่างสองบริเวณ
           - สภาพแวดล้อม หรือสิ่งกีดขวางทางเดินของลม

            ลมมีทิศทางการเคลื่อนที่ออกจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่า ไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่า 

            อัตราเร็วลม (wind speed) ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างค่าความกดอากาศของทั้งสอง
บริเวณที่ลมเคลื่อนที่ไป  และระยะห่างระหว่างสองบริเวณนั้น  

          หากความแตกต่างระหว่างค่าความกดอากาศของสองบริเวณมีค่ามาก  ลมจะมีอัตราเร็วสูง  และถ้าระยะห่างระหว่างสองบริเวณนั้นมีค่ามาก ลมจะมีอัตราเร็วต่ำ

           อัตราเร็วลมในแต่ละบริเวณแตกต่างกัน เช่นใกล้ต้นไม้อัตราเร็วลมมีค่าน้อยกว่าเหนือยอดไม้
เนื่องจากสิ่งปลูกสร้าง หรือต้นไม้ จะช่วยบังลมให้ลมพัดได้ช้าลง 

          มนุษย์มีวิธีป้องกันบ้านเรือนและทรัพย์สินไม่ให้ได้รับความเสียหายจากลมที่มีอัตราเร็วมากได้โดยสร้างบ้านเรือนที่แข็งแรง หรืออาศัยในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากอัตราเร็วลมมากหรือมีสิ่งกำบัง เช่น ต้นไม้  


                                                       ภาพที่ 7.5 อัตราเร็วลมในบริเวณต่าง ๆ     
                                                  ที่มา สสวท. (2561, 123)

       ลมส่งผลต่อสภาพแวดล้อม โดยพื้นที่ที่มีลมพัดแรงมาก อาจมีสภาพแวดล้อมแห้งแล้งกว่าบริเวณที่มีลมพัดเบา 

       นอกจากนี้ลมยังส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น หากอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีลมแรง ก็ควรเลือกบริเวณสร้างที่อยู่อาศัยที่ไม่รับแรงลมโดยตรง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากลม หรือมรสุม

      องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศมีความสัมพันธ์กัน เช่น ความกดอากาศและลมมีความสัมพันธ์กัน   ความกดอากาศมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิอากาศ 

     ความกดอากาศและลมเป็นองค์ประกอบของลมฟ้าอากาศซึ่งส่งผลต่อสภาพอากาศของพื้นที่นั้น ๆ เช่น ความแตกต่างของความกดอากาศ ทำให้เกิดลมแรง และอาจเกิดเป็นพายุได้









แบบทดสอบก่อนเรียน : ความกดอากาศและลม


แบบทดสอบก่อนเรียน : ความกดอากาศและลม

สวัสดีค่ะ ขอให้ทุกคนทำข้อสอบด้วยความตั้งใจนะคะ 
ไม่ต้องกังวลนะคะ แล้วหัวใจสำคัญอีกอย่างก็คือความซื่อสัตย์ค่ะ 
สู้ๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ




1. สถานการณ์ใดที่แสดงว่าอากาศมีความดัน

    ก. หายใจไม่ออกเมื่ออยู่ในที่สูง
    ข. การดูดของเหลวโดยใช้หลอดกาแฟ
    ค. บรรยากาศยังคงห่อหุ้มโลกไม่หลุดลอย
        ออกไป
    ง. เมื่อโยนของขึ้นไปในอากาศ ของจะตกลง
       สู่พื้นเสมอ

2. ทิศทางของแรงดันอากาศมีลักษณะอย่างไร

    ก. อากาศมีแรงกระทำในทุกทิศทาง
    ข. อากาศมีแรงกระทำในทิศทางลงเท่านั้น
    ค. อากาศมีแรงกระทำในทิศทางขึ้นเท่านั้น
    ง. อากาศมีแรงกระทำในทิศจากซ้ายไปขวาหรือ
       ขวาไปซ้าย

3. แรงที่อากาศกระทำต่อพื้นที่ 1 ตารางหน่วย
    คืออะไร

    ก. ความดันพื้นที่
    ข. ความดันอากาศ
    ค. แรงกระทำพื้นที่
    ง. แรงกระทำอากาศ

 4. เมื่อระดับความสูงจากระดับทะเลมาก
     ความดันอากาศจะเป็นอย่างไร

    ก. ความดันอากาศคงที่
    ข. ความดันอากาศจะสูง
    ค. ความดันอากาศจะต่ำ
    ง. ความดันอากาศไม่คงที่


 5. ผิวโลกบริเวณที่อากาศมีอุณหภูมิสูงจะมี
    ความดันอากาศอย่างไร

    ก. ความดันอากาศคงที่
    ข. ความดันอากาศจะสูง
    ค. ความดันอากาศจะต่ำ
    ง. ความดันอากาศไม่คงที่

 6. การวัดความดันอากาศทำได้โดยใช้เครื่องมือใด

    ก. ปรอท
    ข. แอมมิเตอร์
    ค. บารอมิเตอร์
    ง. เทอร์มอมิเตอร์

7. ข้อใด ไม่ได้ ใช้ประโยชน์จากความดันอากาศ
    ในการประดิษฐ์

    ก. บอลลูน
    ข. ตัวติดผนัง
    ค. ล้อรถจักยาน
    ง. ล้อรถถังทหาร

8. บุคคลกลุ่มใด ไม่ได้ รับผลกระทบจาก
    การเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ

    ก. นักบิน
    ข. นักดำน้ำ
    ค. นักปีนเขา
    ง. นักวิ่งลมกรด

จากภาพ ตอบคำถามข้อ 9-10

 





9. อัตราเร็วลมในบริเวณใดมีค่าน้อยที่สุด

    ก. 1
    ข. 2
    ค. 3
    ง. 4

10. อัตราเร็วลมในบริเวณใดมีค่ามากที่สุด

    ก. 1
    ข. 2
    ค. 3
        ง. 4