วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ความชื้น


วามชื้น

         
          เมื่อน้ำจากแหล่งต่างๆ ระเหยกลายเป็นไอน้ำอยู่ในอากาศจะทำให้อากาศมีความชื้น  ความชื้นในอากาศเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเมฆ หมอก น้ำค้าง หรือรูปแบบอื่นๆ ของหยาดน้ำฟ้า  

                                        💕💕💕💕💕💕

        ปริมาณไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศหรือความชื้นสัมบูรณ์ (absolute humidity)  หาได้จากมวลของไอน้ำซึ่งมีอยู่จริงในอากาศที่อุณหภูมิและความดันหนึ่งๆ ต่อปริมาตร  โดยมีหน่วยเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรืออาจคำนวณได้จากสูตร

                                      
                                                💕💕💕💕💕💕

       ณ อุณหภูมิและความดันหนึ่งๆ อากาศสามารถรับไอน้ำในอากาศได้ปริมาณจำกัด ปริมาณไอน้ำสูงสุดที่อากาศสามารถรับได้ ณ อุณหภูมิและความดันหนึ่งๆ ในหนึ่งหน่วยปริมาตร เรียกว่า ปริมาณไอน้ำอิ่มตัว (saturated water vapor)  พิจารณากราฟต่อไปนี้

 

                ภาพที่ 8.1 กราฟแสดงไอน้ำอิ่มตัวในอากาศที่อุณหภูมิต่างๆ     
                                                  ที่มา สสวท. (2561, 132)

          การหาความชื้นสัมบูรณ์ทำให้ทราบความชื้นในอากาศขณะนั้น  แต่ไม่ทราบว่าในขณะนั้นอากาศมีความชื้นมากหรือน้อยเพียงใด  การหาความชื้นอากาศจึงนิยมหาเป็น ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity)  ซึ่งเป็นค่าเปรียบเทียบปริมาณไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศกับปริมาณไอน้ำอิ่มตัว ณ อุณหภูมิ ความดัน และปริมาตรเดียวกัน 

                                              💕💕💕💕💕💕

          ค่าความชื้นสัมพัทธ์บอกได้ว่าในขณะนั้นอากาศมีความชื้นมากหรือน้อยเมื่อเทียบกับความสามารถของอากาศที่จะรับไอน้ำทั้งหมด  อากาศจะสามารถรับปริมาณไอน้ำได้อีกมากน้อยเพียงใด
  


          ความชื้นสัมพัทธ์เป็นปริมาณเปรียบเทียบระหว่างไอน้ำซึ่งมีอยู่จริงและปริมาณไอน้ำอิ่มตัวที่อุณหภูมิ ความดันและปริมาตรเดียวกัน
               

                                         💕💕💕💕💕💕


ปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นสัมพัทธ์

          อุณหภูมิอากาศมีค่าต่ำในช่วงเช้าและเพิ่มสูงขึ้นจนกระทั่งช่วงบ่าย  จากนั้นจึงมีค่าลดลง
ความชื้นสัมพัทธ์ในบางพื้นที่เช่นบริเวณเรือนเพาะชำ มีค่าสูงในช่วงเช้าและลดต่ำลงจนกระทั่ง
ช่วงบ่าย  จากนั้นจึงมีค่าสูงขึ้น ส่วนในบริเวณกลางแจ้ง มีค่าสูงในช่วงเช้า และลดต่ำลงอีกในช่วงบ่าย

                                            💕💕💕💕💕💕

          อุณหภูมิอากาศ และความชื้นสัมพัทธ์มีแนวโน้มว่ามีความสัมพันธ์กัน  โดยเมื่ออุณหภูมิอากาศต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าสูง  อุณหภูมิอากาศสูงขึ้นความชื้นสัมพัทธ์มีค่าต่ำลง อาจเนื่องจากอุณหภูมิอากาศมีผลต่อปริมาณไอน้ำอิ่มตัวจึงส่งผลต่อค่าความชื้นสัมพัทธ์

                                           💕💕💕💕💕💕

          ในเวลาเดียวกันในแต่ละพื้นที่มีค่าความชื้นสัมพัทธ์แตกต่างกัน เช่น ณ เวลา 8:00 น. ความชื้นสัมพัทธ์ในเรือนเพาะชำมีค่า 85 เปอร์เซนต์ ในขณะที่บริเวณกลางแจ้งมีค่า 74 เปอร์เซนต์ แม้ว่าอุณหภูมิอากาศจะไม่แตกต่างกันมากโดยมีค่า 28.5 และ 29 องศาเซลเซียสตามลำดับ

                                           💕💕💕💕💕💕

          ความชื้นสัมพัทธ์กับพื้นที่ตรวจวัดมีความสัมพันธ์กัน  โดยพื้นที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำจะมีความชื้นสูงกว่าพื้นที่กลางแจ้ง เนื่องจากมีปริมาณไอน้ำจริงมากกว่า และพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณปิดจะมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่ากลางแจ้ง  เนื่องจากไอน้ำจริงไม่เคลื่อนย้ายจากบริเวณดังกล่าวมากนัก

                                                💕💕💕💕💕💕

          ในสภาวะที่อากาศนิ่งไม่ค่อยมีลมพัด  ปริมาณไอน้ำในอากาศในพื้นที่ไม่เปลี่ยนแปลงมาก ความชื้นสัมพัทธ์จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอากาศ  เมื่ออุณหภูมิอากาศต่ำในช่วงเช้า ความชื้นสัมพัทธ์มีค่าสูง และเมื่ออุณหภูมิอากาศสูงในช่วงกลางวันหรือบ่ายความชื้นสัมพัทธ์จะมีค่าต่ำ เนื่องจากอุณหภูมิอากาศมีผลต่อปริมาณไอน้ำอิ่มตัว

                                               💕💕💕💕💕💕

          ความชื้นสัมพัทธ์ ในสภาวะปกติมีค่าสูงสุด 100 เปอร์เซนต์ แต่ในบางสภาวะอาจพบค่าความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 100 เปอร์เซนต์ เราเรียกสภาวะนั้นว่าสภาวะอากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำยิ่งยวด (supersaturated) ซึ่งอาจเกิดได้จากการที่อากาศไม่มีตัวกลางให้ไอน้ำเกาะตัวเพื่อควบแน่น

                                             💕💕💕💕💕💕

          อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดความชื้นสัมพัทธ์ มีหลากหลาย เช่น ไซครอมิเตอร์ ไฮโกรมิเตอร์

                                          💕💕💕💕💕💕

          สรุปได้ว่าปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นสัมพัทธ์ ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ลักษณะทางกายภาพพื้นที่ที่ตรวจวัด และเวลาในการตรวจวัด

                                        💕💕💕💕💕💕

💖💖💖💖💖💖 เป็นอย่างไรกันบ้างคะ  นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับความชื้นกันแล้วนะคะ ใครที่คิดว่ายากก็ขอให้หมั่นอ่านทบทวนบ่อยๆ นะคะ ชัยชนะเป็นของนักเรียนที่หมั่นฝึกฝนแน่นอนค่ะ สู้ๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

37 ความคิดเห็น:

  1. อ่านง่ายกว่าในหนังสือครับ
    ด.ช.ก้องภพ ดวงภาค เลขที่2 ชั้น ม.1/1

    ตอบลบ
  2. อ่านเเล้วรู้เรื่อง เข้าใจ อ่านเข้าใจมากกว่าอ่านในหลังสือ มีภาพประกอบ💖💖พุทธธิดา ทองหล่อ เลขที่18

    ตอบลบ
  3. อ่านแล้วเข้าใจง่ายกว่าในหนังสือมากครับ
    ด.ช.วรรณโชติ เกี้ยมชัยภูมิ ม.1/1 เลขที่9

    ตอบลบ
  4. อ่านแล้วทำให้เข้าใจในบทนี้มากขึ้นค่ะ ขอบคุณที่ทำบล็อกมาให้อ่านนะคะ👍
    เด็กหญิงจิดาภา รักไร่ ชั้นม.1/1 เสขที่14

    ตอบลบ
  5. อ่านเเล้วเข้าใจมากขึ้นค่ะ 💓💓
    เเละมีภาพประกอบด้วยค่ะ💓💓
    ชนันภรณ์ พลดี ม.1/1 เลขที่ 15💓💓

    ตอบลบ
  6. อ่านแล้วเข้วใจมากเลยค่ะ
    ด.ญ กัญญารัตน์ เสนนอก ม.1/1เลขที่13

    ตอบลบ
  7. อ่านเเล้วได้รับความรู้มากครับ
    ดนุเดช มวยเก่ง ม.1/1เลขที่4

    ตอบลบ
  8. อ่านแล้วเข้าใจครับ
    ด.ช.ธีรชัย แคะสูงเนิน เลขที่5ชั้น1/1

    ตอบลบ
  9. อ่านแล้วเข้าใจมากครับ ชนกันต์ รักไร่
    เลขที4 ชั้นม 1/3

    ตอบลบ
  10. อ่านแล้วเข้าใจมากครับ ณัฐภูมิ เหียมไธสง ม.1/3เลขที่5

    ตอบลบ
  11. อ่านแล้วได้ความรู้มากๆเลยค่ะ😊
    ด.ญอรุณรัตน์ แอ้นไธสง 1/3 เลขที่29

    ตอบลบ
  12. อ่านแล้วได้ความรู้เยอะค่ะเข้าใจด้วย
    ด.ญกัญญารัตน์ เพ็ญสุข 1/3เลขที่15

    ตอบลบ
  13. อ่านแล้วเข่าใจมากครับ พีระพล หมื่นไธสง ม.1/3เลขที่7

    ตอบลบ
  14. อ่านแล้วเข้วใจมากเลยค่ะ
    ด.ญ.อาทิตยา มะชะรา ม.1/3 เลขที่30

    ตอบลบ
  15. อ่านแล้วเข้าใจมากครับ🔰

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นายวรชัยเหมือนนิยมชั้น1/3เลขที่9

      ลบ
  16. อ่านแล้วได้ความรู้ที่ดีมากๆค่ะ ด.ญ.เวียงฟ้า มณีจินตนา ชั้นม.1/3 เลขที่26

    ตอบลบ
  17. อ่านแล้วมีความเข้าใจมากขึ้นค่ะ
    ด.ญ.สรัลพร หมอดี ม.1/3เลขที่27

    ตอบลบ
  18. อ่านเเล้วเข้าใจมากเลยค่ะ
    ด.ญ กุลณัฐ ควบพิมาย ม.1/3 เลขที่16

    ตอบลบ
  19. เข่าใจมากครับ เมทิน เเก้วกั้น เลขที่8

    ตอบลบ
  20. อ่านเข้าใจง่ายดีค่ะ ด.ญ.เพชรลดา ศิลาจันทร์ ชั้นม.1/3 เลขที่23

    ตอบลบ
  21. อ่านเเล้วทำให้มีความรู้ค่ะ
    ด.ญ ณัฏฐณิชา นักปี่ ม.1/3 เลขที่19

    ตอบลบ
  22. อ่านแล้วเข้าใจมากๆค้ะ👍😎🤣
    ด.ญ.กมลักญณ์ สอบเหล็ก เลขที่14 ม1/3 😎🤣

    ตอบลบ
  23. เข้ามากครับ อภิสิทธิ์
    ควรพิมาย ม.1/3

    ตอบลบ
  24. อ่านแล้วได้ความรู้ครับ ด.ช.จีรศักดิ์ ศรีแสง ชั้นม.1/3 เลขที่3

    ตอบลบ
  25. อ่านแล้วรู้สึกเข้าใจครับ น่าจะครับ เข้าใจครับ
    อ่านแล้วเข้าใจมีตัวหนังสือเยอะมากรูปภาพมีเยอะอยู่นะครับ(มั้งครับ) อ่านแล้วมีเนื้อหาที่ทำให้เข้าใจมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ และมีรูปภาพประกอบทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เพราะว่ารูปภาพมีความละเอียด
    และรูปภาพก้มีความคล้องจองกับเนื้อหา ไม่คล้องจองหรอกครับ ตรงกันเลย อ่านแล้วผมก้ยังคง งง
    เหมือนเดิมครับ ถึงจะดูรูปภาพก็ยังจะ งง อยู่ดีอ่ะครับ
    ก้เพราะว่าผมไม่เก่ง
    แต่ว่าครั้งหน้าผมจะพยายามเข้าใจให้ได้มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    ที่สุดนะครับ (ขี้เกียจเขียนแล้วววววววว)





    [ด.ช.กอบุญ ทางดง]
    《ชั้นม.1/3》
    วงเล็บเปิดเลขที่2วงเล็บปิด

    ตอบลบ
  26. อ่านแล้วได้ความรู้ครับ ด.ช.จีรศักดิ์ ศรีแสง ชั้นม.1/3 เลขที่3

    ตอบลบ
  27. อ่านเเล้วเข้าใจมากเลยค่ะ😎👍
    ด.ญ สุพัตรา พิกุลหอม ม.1/3 เลขที่28

    ตอบลบ
  28. อ่านแล้วเข้าใจดีค้ะ
    ด.ญ นรมน พวงสิน ม1/3 เลขที่21

    ตอบลบ
  29. อ่านแล้วเข้าใจง่ายมากค่ะ ด.ญ.ภณิดา งามหลาย ชั้นม.1/3 เลขที่24

    ตอบลบ
  30. อ่านแล้วเข้าใจ
    กิตติศักดิ์ แขวงสารคาม
    ม.1/3เลขที่1

    ตอบลบ
  31. อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นค่ะ ด.ญ.ขนิษฐา สมจิต ชั้นม.1/3 เลขที่17

    ตอบลบ
  32. เข้าใจครับ รู้เรื่องครับ ขี้เกียจเขียนแล้วววววววววววววครับ ครับ



    ด.ช.ศราวุฒ ร่มพิมาย ม.1/3 เลขที่11



    XDDDD ครับ

    ตอบลบ
  33. อ่านแล้วดีครับ
    อภิสิทธิ์ ควรพิมาย ม.1/3

    ตอบลบ
  34. อ่านแล้วเข้าใจครับมากกกกก











    ด.ช.วีรภัทร ธีรชาติพงศ์กุล

    เลขที่10 ชั่นม.1/3






    🤣🤣🤣🤣😃😃

    ตอบลบ
  35. อ่านแล้วเข้าใจมากเลยครับ
    ด.ช.วรรณโชติ เกี้ยมชัยภูมิ ม.1/1 เลขที่9

    ตอบลบ
  36. อ่านแล้วเข้าใจมากครับ
    ด.ช.ก้องภพ ดวงภาค ม.1/1เลขที่2

    ตอบลบ